ขนมลากรอบ อบน้ำผึ้งโบราณ จี้ออ กรอบ หวานอร่อย ของฝากจังหวัดกระบี่
ขนมลากรอบ มีใครที่เคยลิ้มลองขนมลากรอบโบราณหรือไม่ ถ้ายังทางเราขอ foodpaying นำเสนอขนมลาหรอบของ จี้ออ ความหวานพอดี กรอบ และแถมสามารถเก็บรักษาได้นานอีกด้วย โดยไม่ใส่สารกันบูดเลย ความหอมของน้ำผึ้งที่พอรับประทานเข้าไปแล้วก็ละมุนอยู่ในปากจนรู้สึกได้
ขนมลากรอบ คือขนมอะไร
ทางเราขอให้ทุกท่านรู้จักกับขนมชนิดนี้ได้ดีก่อนที่จะตัดสินใจเลือกซื้อ ขนมลา เป็นขนมหวานพื้นบ้านของทางภาคใต้ ของประเทศไทย ซึ่งทำมาจากแป้งข้าวเจ้า เป็นขนมสำคัญหนึ่งในห้าชนิดที่ใช้สำหรับจัดเพื่อนำไป ถวายพระสงฆ์ในงานประเพณีบุญสารทเดือนสิบ ซึ่งเป็นงานบุญประเพณีที่สำคัญของจังหวัดในภาคใต้ ประจำจังหวัด นครศรีธรรมราช โดยอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับ ขนมลาปรุงขึ้นเพื่อเป็นเสมือนแพรพรรณเสื้อผ้า
ปัจจุบันขนมลามีจำหน่ายตลอด ทั้งปี ไม่ปรุงเฉพาะในเทศกาลอย่างที่เคยปฏิบัติมา ขนมลามี 2 ชนิดคือลาเช็ดและลากรอบ ขนมลาเช็ดจะใช้น้ำมันน้อย โรยแป้งให้หนา เมื่อสุกพับเป็นครึ่งวงกลมหรือสี่เหลี่ยม รูปร่างเหมือนแห ลากรอบ นำลาเช็ดมาโรยน้ำตาลแล้วนำไปตากแดด ในปัจจุบันมีการทำลากรอบแบบใหม่ โดยเพิ่มแป้งข้าวเจ้าให้มากขึ้น ใช้น้ำมันมากขึ้น เมื่อแป้งสุกแล้วม้วนเป็นแท่งกลม พักไว้จนเย็นจึงดึงไม้ออก
ขนมลากรอบ ความเป็นมาของขนม
ขนมลา เป็นหนึ่งในขนม 5 ชนิด ที่ชาวใต้จะนำไปทำบุญในช่วงเทศกาลบุญสารทเดือนสิบ ซึ่งเป็นประเพณีทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว หรือที่เรียกว่า บุพเปตพลี โดยมีความเชื่อว่า บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว อาจจะตกไปอยู่ในภพภูมิที่ดี หรือภพภูมิที่เจอแต่ความยากลำบาก ต้องชดใช้วิบากกรรม ดังนั้นเทศกาลบุญสารทเดือนสิบจึงเปรียบเสมือนตัวแทนขนส่งบุญกุศล อาหาร เครื่องดื่ม และข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว
โดยนอกจากอาหาร และข้าวของทำบุญอื่น ๆ แล้ว ขนมประจำประเพณีที่ชาวบ้านต้องเตรียมก็ได้แก่ ขนมลา และ ขนมพอง และ ขนมกง หรือขนมไข่ปลา และขนมบ้า และขนมดีซำ ซึ่งขนมแต่ละชนิดก็จะมีความหมายในตัวอย่าง ขนมลา ก็เป็นสัญลักษณ์แทนอาหารและแพรพรรณเครื่องนุ่งห่ม ขนมพอง
เป็นสัญลักษณ์แทนแพให้วิญญาณบรรพบุรุษใช้ล่องข้ามห้วงมหรรณพ ขนมบ้า เป็นสัญลักษณ์แทนสะบ้า ให้วิญญาณบรรพบุรุษช้เล่นสะบ้าในวันสงกรานต์ ขนมกง หรือขนมไข่ปลา เป็นสัญลักษณ์แทนเครื่องประดับ และขนมดีซำ เป็นสัญลักษณ์แทนเงินเบี้ย สำหรับใช้สอยในภพภูมิที่วิญญาณบรรพบุรุษอยู่
อีกนัยหนึ่งขนมลาก็เป็นเส้นสายทับกันไปมาจนเหนียวแน่น คล้าย ๆ สายใยถักทอความผูกพันของบรรดาญาติพี่น้อง ให้สมัครสามัคคีรักใคร่กันกลมเกลียว เรียกได้ว่าทั้งได้รับความอร่อย และกระชับความสัมพันธ์คนในครอบครัวให้แนบแน่นตอลดเวลาที่ร่วมกันทำขนมลาด้วยจ้า
ขั้นตอนการทำขนมลาให้ออกมาอร่อย
เริ่มจากนำแป้งข้าวเจ้าผสมกับแป้งมันให้เข้ากันดี ตั้งพักไว้ ผสมนํ้าตาลปี๊บ นํ้าตาลทรายแดง เกลือ และนํ้าสะอาด ใส่หม้อตั้งไฟอ่อน ๆ เมื่อส่วนผสมละลายเข้ากันจนเป็นนํ้าเชื่อม ยกลงตั้งพักไว้ให้เย็น
จากนั้น ค่อย ๆ ใส่นํ้าเชื่อมลงไปในอ่างผสมแป้งเรื่อย ๆ ใช้ไม้พายเล็ก ๆ นวดให้แป้งและนํ้าเชื่อมเข้ากันดี การนวดแป้งนี้จะใช้เวลา 30 ถึง 40 นาที ตัวแป้งที่ได้จะมีลักษณะเหลว เหนียว ๆ ข้น ๆ มีสีนํ้าตาลอ่อน เหลวประมาณว่ายกแป้งแล้วเป็นสายไม่ขาดจากกัน ตั้งทิ้งไว้สักครู่เพื่อให้แป้งเซตตัวเต็มที่
ต่อไปเป็นการทำตัวขนมลา เมื่อแป้งเซตตัวดีแล้ว ตั้งกระทะให้ไฟแรงปานกลาง พอกระทะร้อนได้ที่ดีแล้ว นำไม้หรือแท่งอะลูมิเนียม
ยาวที่พันผ้าไว้ตรงปลาย ซึ่งจุ่มนํ้ามันเตรียมไว้ เช็ดให้ทั่วกระทะ ตักแป้งใส่กระป๋องสเตนเลสที่เจาะรูไว้ แล้วนำมาโรยวนทับไปทับมาให้ทั่วกระทะ 4 ถึง 5 รอบให้เหมือนแพรไหม
พอแป้งเริ่มมีสีเหลืองทอง ใช้ไม้แซะขนมขึ้นมาพันกับแท่งอะลูมิเนียม ม้วนให้เป็นแท่งกลม ๆ เอาขึ้นพักไว้จนเย็น ดึงแท่งอะลูมิเนียมออก การทำขนมลาให้ทำวนไปเรื่อย ๆ เมื่อต้องการจะหยุดพักก็ปิดแก๊ส
ขนมลากรอบ อบน้ำผึ้งโบราณ จี้ออ
ขนมลา ลากรอบ คือ ขนมโบราณ ของภาคใต้ ที่มักจะมีให้ ทานเฉพาะช่วงเทศกาลสารทเดือนสิบ และเป็นขนมสำคัญ 1 ใน 5 ชนิด ที่ชาวใต้ใช้สำหรับจัดถวายพระสงฆ์ในงานประเพณีบุญสารทเดือนสิบ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับ ซึ่ง ขนมลา เป็นสัญลักษณ์แทนอาหารและแพรพรรณเครื่องนุ่งห่ม
ในปัจจุบันนั้นขนมลามีจำหน่ายตลอดทั้งปี ไม่ทำขายเฉพาะในเทศกาลอย่างที่เคยปฏิบัติมา และยังมี ขนมลากรอบ ซึ่งจะใช้น้ำตาลทรายและแป้งข้าวเจ้า เพิ่มความกรอบให้ขนมลา ร้านจี้ออ ของฝากกระบี่
ที่เน้นวิถีพื้นบ้านในการผลิตจะ ไม่ใส่สารกันบูดหรือกันเสียใดๆ นอกจากนั้น ขนมลาของจี้ออ ยังได้มีการอบน้ำผึ้งแท้ร้อย 100% เข้าไป เพราะฉะนั้นจะได้กลิ่นหอมน้ำผึ้งชัดเจนมากยิ่งขึ้น ขนมลากรอบของร้านจี้ออนั้นเป็นสินค้าขึ้นชื่อ เป็นของฝากที่ถูกอกถูกใจ มักจะถูกถามหาอยู่เป็นประจำ เพราะความกรอบอร่อย และเก็บได้นานถึง 1 เดือน
ขั้นตอนผลิตขนมลาของร้านจี้ออ
1. เริ่มจากนำแป้งข้าวเจ้า ผสมกับแป้งมัน ให้เข้ากัน และทิ้งไว้สักพัก
2. ผสมน้ำตาลปี๊บ น้ำตาลทรายแดง เกลือ และน้ำสะอาด ใส่หม้อยกขึ้นตั้งไฟอ่อนๆ ให้ส่วนผสมน้ำตาลละลายเข้ากันดี เคี่ยวส่วนผสมทั้งหมด ทิ้งไว้สักครู่ พอเป็นน้ำเชื่อมก็เป็นอันใช้ได้ แล้วยกลงตั้งพักไว้ให้เย็น
3. จากนั้นก็นำเอาแป้งที่ผสมเตรียมไว้มาทำการนวด โดยค่อย ๆ ใส่น้ำเชื่อมลงไปในอ่างผสมแป้งเรื่อย ๆ ใช้ไม้พายเล็ก ๆ นวดให้แป้งและน้ำเชื่อมเข้ากันดี ซึ่งการนวดแป้งนี้จะใช้เวลาประมาณ 30 นาที ตัวแป้งที่ได้จะมีลักษณะเหลว เหนียว ๆ ข้น ๆ มีสีน้ำตาลอ่อน เหลวประมาณว่ายกแป้งแล้วเป็นสายไม่ขาดจากกัน ตั้งทิ้งไว้สักครู่เพื่อให้แป้งเซตตัวเต็มที่
4. ต่อไปเป็นขั้นตอนการทำตัวขนมลา เมื่อแป้งเซตตัวดีแล้ว ตั้งกระทะให้ไฟแรงปานกลาง พอกระทะร้อนได้ที่ดีแล้ว นำไม้หรือแท่งอะลูมิเนียมยาวที่พันผ้าไว้ตรงปลาย ซึ่งจุ่มน้ำมันเตรียมไว้ เช็ดให้ทั่วกระทะ ตักแป้งใส่กระป๋องสเตนเลสที่เจาะรูไว้ แล้วนำมาโรยวนทับไปทับมาให้ทั่วกระทะ 2-3 รอบ ให้เหมือนแพรไหม
5. เมื่อแป้งเริ่มมีสีเหลืองทอง ใช้ไม้แซะขนมขึ้นมาพันกับแท่งอะลูมิเนียม ม้วนให้เป็นแท่งกลม ๆ เอาขึ้นพักไว้จนเย็น ดึงแท่งอะลูมิเนียมออก การทำขนมลาให้ทำวนไปเรื่อย ๆ
ขนมลากรอบจี้ออ ปริมาณ 120 กรัม บรรจุกล่องเรียบร้อย และสามารถเก็บได้นาน 1 เดือน มีความหวานหอมอร่อย ด้วยน้ำผึ้งแท้ 100% ถ้าหากท่านรู้สึกเบื่อขนมต่าง ๆ ลองหันมาชิมขนมโบราณดูแล้วจะติดใจ