มะยมเชื่อม อัญชลี รสชาติหวานอมเปรี้ยว สะอาด ของฝากจังหวัดชลบุรี
มะยมเชื่อม ยามเบื่อ ๆ รู้อยากทานอะไรที่เปรี้ยว ๆ หวาน ๆ แต่ก็เบื่อมะม่วง เบื่อของหมักดองเดิม ๆ สามารถหันมาลองมะยมเชื่อมที่ทางเรา foodpaying จะแนะนำจากทางร้านอัญชลี รสชาติที่มีความพอดีหวานอมเปรี้ยว แถมสะอาด ทานที่ไหนเวลาไหนก็อร่อยจนหยุดทานไม่ได้ ถ้าได้แช่ตู้เย็นด้วยแล้วยิ่งอร่อยกว่าเดิมอีก
มะยมเชื่อม ทำมาจากผลไม้อะไร
มีใครที่ยังไม่รู้จักมะยมบ้าง แต่ไม่เป็นไรทางเราจะแนะนำให้ท่านรู้จักเอง มะยม ซึ่งทางภาคอีสานเรียกว่า หมากยม ภาคใต้เรียกว่า ยม เป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 3 ถึง 10 เมตร ลำต้นตั้งตรง เปลือกต้นขรุขระสีเทาปนน้ำตาล แตกกิ่งที่ปลายยอด กิ่งก้านจะเปราะและแตกง่าย ใบประกอบ มีใบย่อยออกเรียงแบบสลับกันเป็น 2 แถว
แต่ละก้านมีใบย่อย 20 ถึง 30 คู่ ใบรูปขอบขนานกลมหรือค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนปลายใบแหลม ฐานใบกลมหรือมน ขอบใบเรียบ ดอก ออกเป็นช่อตามกิ่ง ดอกย่อยสีเหลืองอมน้ำตาลเรื่อๆ ติดผลเป็นพวง ผลมีสามพูชัดเจน เมื่ออ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือขาวแกมเหลือง เนื้อฉ่ำน้ำ เมล็ดรูปร่างกลม แข็ง สีน้ำตาลอ่อน 1 เมล็ด มีทั้งพันธุ์เปรี้ยวและพันธุ์หวาน ซึ่งมีรสหวานอมฝาด ผลจะอ่อนนุ่มเมื่อสุก จึงเก็บเกี่ยวก่อนผลจะหล่นจากต้น ถิ่นกำเนิดอยู่ที่เอเชียใต้และอเมริกันเขตร้อนนั้นเอง
มะยมมีจุดกำเนิดจากที่ไหน
และถ้าหากสงสัยว่าถ้าท่านอยากจะปลูกมะยมที่บ้านสามารถปลูกได้หรือไม่นั้น ก็คือมะยมเป็นพืชชนิดนี้พบได้ทั่วเอเชีย และพบปลูกตามบ้านในแคริบเบียน อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ กระจายพันธุ์ข้ามมหาสมุทรอินเดียไปจนถึงมอริเชียส และข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกไปจนถึงฮาวาย แพร่กระจายไปจนถึงภูมิภาคทะเลแคริบเบียนเมื่อ พ.ศ. 2336
โดยวิลเลียมไบลก์นำมะยมจากติมอร์ไปยังจาเมกา พืชชนิดนี้พบได้ทั่วไปในกวม อินโดนีเซีย เวียดนามใต้ ลาว ตอนเหนือของคาบสมุทรมลายู และอินเดีย ยังคงพบพืชชนิดนี้ในฟิลิปปินส์ ไทย กัมพูชา และฮาวาย พบเห็นได้ในเปอร์โตริโก เอกวาดอร์ เอลซัลวาดอร์ เม็กซิโก โคลอมเบีย เวเนซุเอลา สุรินาเม เปรู และบราซิล ถ้าท่านไหนที่ติดใจรสชาติของมะยมแล้วรู้สึกอยากจะปลูกไว้ทานที่บ้านก็สามารถปลูกได้
มะยมมีสรรพคุณอะไรบ้าง
มะยมใช้รับประทานเป็นผลไม้สดและแปรรูป เช่น แช่อิ่ม ดอง น้ำมะยม แยม หรือกวน ใช้ทำส้มตำ ยอดอ่อนรับประทานเป็นผักสด กินกับน้ำพริก ลาบ ส้มตำ ขนมจีน ในอินเดียและอินโดนีเซีย นำใบไปปรุงอาหาร ผลใช้ปรุงรสอาหารในอินโดนีเซีย ในฟิลิปปินส์ใช้ทำน้ำส้มสายชู หรือกินดิบหรือดองในเกลือและน้ำส้มสายชู ในมาเลเซียนิยมนำไปเชื่อม ในอินเดียและอินโดนีเซียนิยมนำใบมะยมไปประกอบอาหาร เนื้อไม้แข็งแรง ทนทาน แต่ต้นไม่ใหญ่มาก ในอินเดีย เปลือกไม้ใช้เป็นแหลางของแทนนิน
ผลมะยมมีฤทธิ์กัดเสมหะและเป็นยาระบาย ใบเป็นส่วนประกอบของยาเขียว ตำราไทยใช้ รากแก้ไข้ รักษาโรคผิวหนัง น้ำเหลืองเสีย ผื่นคัน ใบ ต้มน้ำอาบแก้คัน แก้ไข้ เหือด หิด อีสุกอีใส ในผลมีแทนนิน เดกซ์โทรส เลวูโลส ซูโครส วิตามินซี ในรากมี แทนนิน ซาโปนิน กรดแกลลิก น้ำเชื่อมใช้รักษาโรคกระเพาะอาหาร ในอินเดียผลใช้เป็นตัวกระตุ้นเลือดสำหรับตับ
มะยมเชื่อม ความเป็นมาของร้านอัญชลี
ทางร้านเป็นหนึ่งในผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายผลไม้แปรรูปรายใหญ่ของประเทศ โดยมีผลไม้กวน และ ผลไม้อบแห้ง เชื่อม ลูกอมผลไม้เป็นสินค้าหลัก ทั้งนี้ลูกค้ายังสามารถเลือกผลิตตามรสชาติที่ต้องการรวมถึงการผลิตสินค้าภายใต้ตราสินค้าของตัวเองได้อีกด้วย
ด้วยประสบการณ์ที่ยาวนานกว่า 20 ปี ทางร้านให้ความสำคัญกับคุณภาพมากกว่าปริมาณ ผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นจึงได้รับการรังสรรค์ด้วยสูตรเฉพาะดั้งเดิมให้ได้รสชาติที่ถูกปากต้องตามความต้องการ ส่วนผสมต่างๆได้รับการคัดเลือกอย่างพิถีพิถันและระมัดระวังเป็นพิเศษรวมทั้งได้รับการรับรองจาก อย. และ HACCP คุณจึงมั่นใจได้ในความความสะอาดและความปลอดภัย
คุณภาพเป็นสิ่งที่ทางร้านให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ ฉะนั้นทางร้านจึงเลือกวัตถุดิบจากผลไม้ที่ดีที่สุด ฉะนั้นกำลังการผลิตของทางร้านขึ้นอยู่กับข้อจำกัดด้านความสดของผลไม้ในแต่ละปี โดยปกติแล้ว ทางร้านจะมีผลไม้หลักๆไว้จัดจำหน่ายประมาณเจ็ดชนิดได้แก่ สับปะรด และ พุทรา และ มะยม และ สตรอว์เบอร์รี และ ลูกหยี และทุเรียน แต่ทั้งนี้ เรายังมีผลไม้พิเศษอื่น ๆ ไว้จัดจำหน่ายตามฤดูกาลนั้น ๆ อีกด้วย
มะยมเชื่อมเนื้อแน่น ต้องของอัญชลี
มะยมเป็นผลไม้เชื่อมที่น่าจะคุ้นตาใครหลาย ๆ คน สำหรับมะยมเชื่อมของยี่ห้ออัญชลี ที่เลือกใช้มะยมเม็ดใหญ่ เนื้อแน่น แล้วนำมาผ่านกระบวนการเชื่อมสูตรเฉพาะดั้งเดิม จึงทำให้ได้มะยมเชื่อมรสชาติอร่อย เปรี้ยวอมหวาน ทั้งยังมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ของมะยมที่ช่วยเพิ่มอรรถรสในการรับประทานให้มากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ยังการันตีคุณภาพและมาตรฐานด้วยประสบการณ์ที่ยาวนานกว่า 20 ปี ยิ่งไปกว่านั้น ยังได้รับการรับรองจาก อย. และ HACCP ที่สามารถสร้างความมั่นใจในความสะอาดและปลอดภัยได้ค่ะ ใครที่ชื่นชอบของเปรี้ยว ๆ หวาน ๆ ห้ามพลาด