เมนู
หมวดหมู่

ข้าวหลามหนองมน ของฝากจากชลบุรี

ข้าวหลามหนองมน ถ้ารู้สึกอยากกินข้าวหลามที่อร่อย ๆ ต้องข้าวหลามหนองมนเลย ทางเรา foodpaying ขอแนะนำ เพราข้าวหลามที่อร่อยต้องที่ชลบุรี ความหวานหอมของกะทิและน้ำตาลบนหน้าข้าวเหนียว ที่ชวนให้น้ำลายไหล เห็นแล้วมีต้องจอดรถแวะซื้อตามกันเลย และแถมการหอมกลิ่นถ่านจากการเผาข้าวหลามแบบเผาฟืนนั้นเป็นใคร ๆ ก็อยากจะลิมลองว่าข้าวหลามอะไรมันจะเด่นดังขนาดนี้

ข้าวหลามหนองมน ต้องชลบุรี

หากจะกล่าวถึงอาหารหรือขนมประจำจังหวัดชลบุรีคงไม่มีใครไม่รู้จักข้าวหลามหนองมนเพราะไม่ว่าใครที่เคยไปเที่ยวบางแสน จังหวัดชลบุรี หรือผ่านทางนั้น ก็คงเคยเห็นผ่านตากับร้านค้าที่เรียงรายข้างถนนที่มีมากมายหลา ๆ ร้าน ซึ่งล้วนแล้วแต่ขายข้าวหลามหนองมนอันเป็นเป็นสินค้าของฝากที่นิยมซื้อติดไม้ติดมือกลับไป

ซึ่งนักกินหลาย ๆ ท่านต่างยกให้ข้าวหลามหนองมนเป็นหนึ่งในข้าวหลามในดวงใจที่กินเมื่อไหร่ก็อร่อยเมื่อนั้น  วันนี้เราจึงจะขอพาทุกๆ ท่านไปทำความรู้จักถึงความเป็นมาของข้าวหลามหนองมน ของฝากประจำจังหวัดชลบุรีกัน นอกจากความหวานหอมของกะทิและน้ำตาลบนหน้าข้าวเหนียว จะทำให้ข้าวหลามหนองมนขึ้นชื่อแล้ว บางครั้งความเปรี้ยวที่เคยหลุดมา ก็ทำให้ใครหลายคน บ่นจนเสียงลือกันไปไกล ฉันก็เป็นหนึ่งในนั้น แม้ไม่ได้เจอกับความเปรี้ยว แต่ก็ไม่ได้จับกระบอกข้าวหลาม ตักข้าวเหนียวเข้าปากมานานมากแล้ว จนกระทั่งวันนี้

ข้าวหลามหนองมน ความเป็นมา

ประวัติความเป็นมาของข้าวหลามนั้น ค่อนข้างซับซ้อน แต่มีการสันนิษฐานว่ามาจากวัฒนธรรมของคนไทยภาคเหนือและอีสาน ที่มักจะกินข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก รวมไปถึง คนสมัยก่อนนิยมหุงข้าวกับกระบอกไม้ไผ่อยู่แล้ว เพราะจะช่วยชูรสชาติให้ข้าวมีความหอมกว่าปกติ

แต่บางแห่งก็สันนิษฐานว่า มาจากการที่ชาวบ้านต้องเก็บของป่าและล่าสัตว์ แต่ไม่มีอุปกรณ์สำหรับทำอาหาร จึงใช้กระบอกไม้ไผ่มาตัด และใช้เป็นภาชนะในการหุงข้าวแทน ต่อมาจึงดัดแปลงเติมวัตถุดิบเข้าไปในข้าวตามแต่ละภูมิภาค รวมไปถึงการดัดแปลงเป็นของหวานจากข้าวเหนียว โดยเพิ่มรสชาติด้วยกะทิ น้ำตาล และถั่ว จากนั้นนำไปเผา กลายเป็นข้าวหลาม ของหวานแสนอร่อยในปัจจุบัน

คำว่าชื่อ หนองมน ในชื่อของอหารขึ้นชื่อนี้ มีที่มามาจากชื่อของหมู่บ้านเล็ก ๆ ของ จังหวัดชลบุรี โดยมีตำนานกล่าวไว้ว่า วันหนึ่งมีพระภิกษุมาธุดงค์และได้ปักกลดค้างแรมข้างหนองน้ำแห่งหนึ่งในละแวกใกล้หมู่บ้าน และ ณ เวลานั้นที่หมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียงเกิดโรคระบาดร้ายแรง ส่งผลให้ชาวบ้านต่างบาดเจ็บล้มตายกันเป็นจำนวนมาก

แม้ว่าชาวบ้านจะพยายามให้หมอกลางบ้านหรือหมอยาสมุนไพรก็ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ด้วยความวิตกกังวลชาวบ้านจึงอาราธนาพระธุดงค์ให้มาช่วยเหลือ พระธุดงค์รูปนั้นจึงได้ทำพิธีปลุกเสกน้ำมนต์ให้ชาวบ้านที่มาขอน้ำมนต์นำไปดื่มกินและประพรมตัวให้คนที่เจ็บไข้ได้ป่วย ซึ่งผลที่ได้คือ โรคร้ายหายไปไม่มีใครล้มป่วยอีก

ชาวบ้านที่หมู่บ้านใกล้เคียงต่างก็พากันมาขอน้ำมนต์จากหลวงพ่อไปรักษาโรคร้ายในหมู่บ้านของตนบ้าง จนพระธุดงค์ไม่สามารถทำน้ำมนต์ให้เพียงพอกับความต้องการของชาวบ้านได้ ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันขุดพื้นดินตรงที่พักของพระธุดงค์เป็นบ่อน้ำ ก่อนเชิญท่านมาทำพิธีปลุกเสก

หนองมน ตำนาน

เมื่อพระธุดงค์เดินทางไปธุดงค์ที่อื่น ชาวบ้านต่างพากันอพยพมาอยู่ใกล้ ๆ หนองน้ำกลายสภาพเป็นหมู่บ้านใหญ่ จากบ่อน้ำกลายเป็นหนองน้ำใหญ่ขึ้นไปเรื่อย ๆ ชาวบ้านจึงพากันตั้งชื่อว่า หนองน้ำมนต์ หรือที่เรียกันใรปัจจุบันว่า หนองมน นั้นเอง

อาชีพหลักของชาวหนองมนคือการทำนา เมื่อหมดฤดูกาลเก็บเกี่ยว ก็จะทำข้าวหลามเป็นของหวานกินกันตามอัตภาพ โดยจะนำข้าวเหนียวไปแลกกับน้ำตาลและมะพร้าวจากหมู่บ้านอื่น ส่วนไม้ไผ่ป่าก็หาตัดกันเองบนเขาบ่อยาง เกิดเป็น ข้าวหลามหนองมนขึ้น

และเคล็ดลับความอร่อยของข้าวหลามหนองมน ที่หลายเจ้าสืบทอดต่อกันมานั้น คือ การเผาข้าวหลามแบบเผาฟืน ซึ่งทำให้ข้าวหลามมีกลิ่นหอมน่ากิน ทว่าปัจจุบันได้เปลี่ยนจากการเผาฟืน มาใช้เตาแก๊สแทน ขณะเดียวกันคนที่เผาข้าวหลามขายก็น้อยลงเรื่อยๆ เพราะกรรมวิธีในการผลิตยุ่งยาก ทั้งไม้ไผ่ก็หายาก ต้องสั่งซื้อจากประเทศกัมพูชา ทำให้แม่ค้าข้าวหลามหลายเจ้า ในตลาดหนองมนใช้วิธีรับซื้อจากผู้เผา แล้วนำมาวางจำหน่ายอีกต่อหนึ่ง

นอกจากนี้ ในปัจจุบันร้านขายของฝากที่นี้ ก็ไม่ได้มีเฉพาะข้าวหลามเป็นของฝากแค่อย่างเดียว แต่ยังมีขนมจาก ซึ่งถือเป็นขนมโบราณที่ขายดีอีกอย่าง กรรมวิธีการทำก็ง่ายและรวดเร็วกว่าการหลามข้าวหลาม มีอาหารทะเลตากแห้ง ซึ่งมีมากในจังหวัดชลบุรี มีเครื่องจักสานเล็ก ๆ พวกกระเป๋า ตะกร้า ซึ่งรับมาจากพนัสนิคม รวมถึงมีแม้กระทั่งของฝากจากจังหวัดอื่นๆ มาวางขาย เพื่อให้ลูกค้าได้เลือกซื้อกันอย่างเต็มที่ แม้ว่าลูกค้า นักท่องเที่ยวบางคนจะไม่มีข้าวหลามติดมือออกมาจากร้านสักกระบองก็ตาม

ข้าวหลามหนองมน ทำไมถึงมีชื่อเสียง

ข้าวหลามหนองมนเริ่มมามีชื่อเสียงก็ตอนที่มีการตัดถนนสุขุมวิท เพื่อผ่านตลาดให้คนกรุงเทพได้ไปเที่ยวบางแสน คนที่ผ่านไปมาก็ซื้อติดไม้ติดมือกลับกรุงเทพ จนกระทั่งยุคสมัยของจอมพลสฤษฎ์ ที่มาพักตากอากาศที่บางแสนพร้อมกับนายพลเนวินของพม่าในยุคนั้นได้มีการเกณฑ์ ชาวบ้านไปเผาข้าวหลามโชว์ จึงมีการลงหนังสือพิมพ์ และมีชื่อเสียงมาจนถึงปัจจุบัน

ข้าวหลามหนองมนมีรสหวานมัน ข้าวเหนียวนุ่มชุ่มด้วยกะทิ มีให้เลือกทั้งข้าวเหนียวดำ ใส่ถั่วแดง เผือก ข้าวโพด เนื้อมะพร้าว เมื่อเปิดฝากระบอกดูจะเห็นเนื้อข้าวเหนียวด้านบนฉ่ำเยิ้มไปด้วยกะทิ มีจำหน่ายที่ตลาดหนองมน มีสามขนาด คือ ขนาดเล็กกระบอกละ 20 บาท ขนาดกลางกระบอกละ 25 บาท ขนาดใหญ่ 3 ถึง 4 กระบอก 100 บาท วิธีเลือกซื้อ ควรเลือกข้าวหลามที่เผาสุกใหม่ๆ จะยังอุ่นอยู่ และมีกลิ่นหอมของกะทิ ถ้ามีกลิ่นออกเปรี้ยวไม่ควรซื้อเพราะใกล้บูด อีกทั้งควรลองชิมว่าถูกใจในรสชาติหรือเปล่า

ของฝากจากเมืองชล รสชาติหวานยาวนาน

ของฝากรสหวานมันจากหนองมน ชลบุรี ที่มีมากว่า 60 ปี ในหลายปีมานี้ทางเทศบาลแสนสุข มีการเข้ามาดูแลความสะอาดการเผา การผลิตซึ่งกำหนดความยาวของข้าวหลามไว้ที่ 4 นิ้ว เพื่อไม่ให้สั้นจนเกินไป การวางชาย ตรวจสอบของ และนัดหมายประชุมกับแม่ค้าว่ามีใครอยากทำอะไรเพิ่มเติม ให้คำปรึกษาเรื่องยอดขาย และสนับสนุน ดูแลให้ธุรกิจข้าวหลามหนองมนดีขึ้น ทั้งการตลาดและบรรจุภัณฑ์ เพราะข้าวหลามหนองมนช่วยหนุนให้ เศรษฐกิจหนองมนดีขึ้นตาม

ในวันที่ข้าวหลามหนองมนเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย กลายเป็นคำติดปาก เมื่อพูดถึงหนองมนก็จะมีข้าวหลามติดเป็นคำตามท้ายมาเสมอ ถึงแม้จะมีทั้งชื่อเสียงและคำวิจารณ์ต่อข้าวหลามหนองมนในแง่ลบมากมาย สุดท้ายพี่ตุ๊กก็ฝากกับเราว่า ข้าวหลามก็ขึ้นกับแม่ค้าและคนผลิต ถ้าเราทำไว้ดี คนก็จะจดจำและติดตามมาซื้ออีก โดยแทบไม่ต้องบอกเลยว่าร้านอยู่ตรงไหน

แนวยาวของตลาดในวันหยุดแบบนี้ มีรถราจอดหน้าร้านข้าวหลามมากมาย ผู้คนยังแวะมาซื้อของฝากกันไม่ขาดสาย อนาคตของข้าวหลามจะเป็นอย่างไร คงให้ข้าวเหนียวรสหวานในกระบอกไม้ไผ่ที่มีผู้แวะชิม และนำไปฝากเป็นตัวตัดสินว่าจะมีข้าวหลามกระบอกถัดไป ฝากถึงใครได้ลิ้มลอง