เมนู
หมวดหมู่

ข้าวซอยตัด ของฝากเมืองเชียงใหม่

ข้าวซอยตัด ใครเบื่อขนมหวานแบบเดิม ๆ บางทีเดินเข้าร้านสะดวกซื้อก็ไม่รู้จะซื้อขนมอะไรกิน ทางเรา foodpaying ขอแนะนำขนมโบราณที่ช่วยได้ทุกคน ยกตัวอย่างเช่นข้าวซอยตัด เป็นขนมโบราณที่หากินยาก ซึ่งเป็นขนมหวานทางภาคเหนือ คนส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยรู้จักสักเท่าไหร่ และมีหลากหลายรสชาติใครทุกคนลืมลองชิม

ข้าวซอยตัด คืออะไร

ข้าวซอยตัดหมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำแป้งข้าวสาลีหรือแป้งข้าวสาลีผสมแป้งชนิดอื่น ไข่ และน้ำมานวดผสมให้เหนียว ตัดเป็นเส้น นำไปทอดให้กรอบ คลุกกับส่วนผสมของน้ำน้ำตาล หรือน้ำผึ้ง และแบะแซที่เคี่ยวจนเหนียวพอเหมาะ อาจแต่งสีหรือเติมส่วนประกอบอื่น เช่น ธัญพืช สมุนไพร อัดใส่พิมพ์แล้วตัดเป็นชิ้นหรือทำเป็นรูปร่างตามต้องการ อาจตกแต่งหน้าด้วยส่วนประกอบต่างๆ เช่น งา ลูกเกด และอาจนำไปอบแห้งก็ได้

ข้าวซอยตัด ขนมขึ้นชื่อภาคเหนือ

ขนมชนิดหนึ่งที่ได้จากการนำแป้งสาลี ไข่ไก่ และน้ำ มานวดผสมให้เหนียว ตัดเป็นเส้น นำไปทอดให้กรอบ คลุกกับส่วนผสมของน้ำ น้ำตาล หรือน้ำผึ้ง และแบะแซที่เคี่ยวจนเหนียวพอเหมาะ อัดใส่พิมพ์แล้วตัดเป็นชิ้นหรือทำเป็นรูปร่างตามต้องการ อาจตกแต่งหน้าด้วยส่วนประกอบต่าง ๆ เช่น งา หรือลูกเกด มีรสชาติหอม หวาน มัน

เป็นขนมชนิดหนึ่งที่นิยมแพร่หลายในจังหวัดภาคเหนือ มีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีนในราชสำนัก ปัจจุบัน ขนมนับเป็นสินค้าของฝากอย่างหนึ่งที่หาซื้อได้ตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ในภาคเหนือ และเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเป็นสินค้าของฝากที่สามารถเก็บรักษาได้นานถึง 2 ถึง 3 เดือน

ซึ่งแตกต่างจากของฝากชื่อดังทั่วไปของภาคเหนือ เช่น ไส่อั่ว น้ำพริกหนุ่ม แคบหมู ที่มีวันหมดอายุสั้นกว่ามาก ขนมของฝากจากเมืองเหนือ สูตรดั้งเดิม รสชาติ หอม มัน อร่อย ไม่หวานเลี่ยน ไม่ติดฟัน เหมาะสำหรับรับประทานเป็นของว่าง รับประทานเปล่าๆ หรือพร้อมกับชาและกาแฟ ก็รสชาติเข้ากันได้ดี

ความเป็นมา

ในอดีตขนมยังไม่เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากนัก จะหากินได้เฉพาะทางภาคเหนือเท่านั้น แต่ด้วยความมานะทำมาหากินของสามีภรรยา เมืองเชียงใหม่ที่เริ่มต้นจากจุดเล็ก ๆ ทำเป็นอาชีพในครัวเรือน ก่อนค่อย ๆ เติบใหญ่ ก้าวเป็นผู้ผลิตขนมที่มียอดขายสูงสุดในประเทศไทย และยังมีบทบาทสำคัญช่วยให้ขนมชนิดนี้เป็นที่แพร่หลายนิยมไปทั่วประเทศในฐานะของฝากประจำภาคเหนือ

ข้าวซอยตัด รสชาติเป็นอย่างไร

รสชาติหอม นุ่ม และได้รับความนิยม อย่างแพร่หลาย กลายมาเป็นอาหารว่างประจำวัน สามารถรับประทานร่วมชา กาแฟ ทานได้ทุกเพศ ทุกวัย ทางเรามีการพัฒนารสชาติ รูปแบบขนมอย่างต่อเนื่องให้สามารถรับประทานได้ทุกโอกาส ทุกเวลา

ทุกสถานที่ ตามความเหมาะสม เสน่ห์ของขนม ไม่ใช่มีแค่เพียงรสชาติอร่อยกลมกล่อมเท่านั้น ขนมยังเหมาะที่จะใช้เป็นของฝาก ของขวัญแทนคำขอบคุณ หรือ ของขวัญในงานเทศกาลต่าง ๆ ถือเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของขนม มีทั้งหมด 5 รสชาติ ดั้งเดิม ใบเตย วนิลา น้ำผึ้ง น้ำอ้อย มีอายุ 6 เดือนเลยนะ

ขนมดั้งเดิมของภาคเหนือ

ข้าวซอยตัดเป็นขนมดั้งเดิมชนิดหนึ่งในท้องถิ่นของภาคเหนือ แต่ยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายในวงกว้างมากนัก เนื่องจากขนมมีรูปลักษณ์ที่ค่อนข้างล้าสมัย ไม่น่าดึงดูด จึงไม่เหมาะที่จะซื้อไปเป็นของฝากเหมือนกับสินค้าท้องถิ่นชนิดอื่นของทางภาคเหนือ

ดังนั้น ผู้ผลิตจึงเล็งเห็นว่าขนมนั้นสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้นได้ ทั้งในด้านคุณภาพ รสชาติ มาตรฐานการผลิต และสามารถพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มคุณค่าของสินค้าไปพร้อมๆกับภาพลักษณ์ที่ดีของขนมพื้นบ้านชนิดนี้ไปด้วย จึงช่วยกันพัฒนาคุณภาพและรสชาติให้เป็นที่น่าพอใจ จากนั้นจึงเริ่มตั้งโรงงานและเริ่มจ้างงานจากคนในท้องที่ และพัฒนาสินค้าไปจนพร้อมที่จะจำหน่ายสินค้าออกสู่ตลาด พร้อมทั้งมีมาสคอตขวัญใจชาวเหนือชื่อ คำอ้าย ปัจจุบัน ข้าวซอยตัดได้ขึ้นทะเบียนเป็นสินค้า OTOP ระดับ 3 ดาว ในปี 2555

ข้าวซอยตัด ชื่อเรียกมาจากไหน

ชื่อเรียกมาจากประเทศจีน โดยคนจีนจะเรียกว่า ซาฉีหม่า หรือ ขนมแป้งทอด ขนมชนิดนี้จะเป็นการนำเอาเส้นหมี่มาทอดจนสุกกรอบ แล้วคลุกเคล้าด้วยน้ำตาล ในปัจจุบันได้มีการผลิตออกมาหลากหลายรสชาติ ไม่ว่าเป็น รสใบเตย และ รสวนิลา หรือรสน้ำอ้อย ถือเป็นขนมที่มีรสหวาน เก็บไว้ได้นาน 1 ถึง 2 เดือน

นิยมรับประทานเป็นอาหารว่างคู่กับน้ำชา หรือกาแฟ ขนมขนมนับเป็นของฝากที่หาซื้อได้ตามแหล่งท่องเที่ยวเกือบทุกพื้นที่ในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นของฝากอีกหนึ่งอย่างที่ผู้คนมักซื้อกลับไปฝากญาติพี่น้อง ด้วยตัวขนมที่เก็บไว้ได้นาน ไม่เหมือนกับของกินชนิดอื่น ๆ ทำให้ขนมของเชียงใหม่ถือเป็นของฝากยอดนิยมอีกหนึ่งตัวค่ะ

ประวัติเชียงใหม่

เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคเหนือของประเทศไทย ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 20,107 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ มีประชากรราว 1.79 ล้านคน มากเป็นอันดับ 4 ของประเทศ เชียงใหม่แบ่งการปกครองออกเป็น 25 อำเภอ โดยมีอำเภอเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของจังหวัด เมื่อ พ.ศ. 2552 มีการจัดตั้งอำเภอกัลยาณิวัฒนาเป็นอำเภอลำดับที่ 25 ของจังหวัด และลำดับที่ 878 ของประเทศ ซึ่งเป็นอำเภอล่าสุดของไทย

จังหวัดเชียงใหม่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนาแต่โบราณ มี คำเมือง เป็นภาษาท้องถิ่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งด้านประเพณีวัฒนธรรม และมีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมาก โดยเริ่มวางตัวเป็นนครสร้างสรรค์ และได้รับการประกาศเป็นเมืองสร้างสรรค์ของโลกทางด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน เมื่อปี พ.ศ. 2560 ปัจจุบันกำลังพิจารณาสมัครเมืองมรดกโลกจากองค์การยูเนสโก[4] เชียงใหม่ยังถือเป็นศูนย์กลางด้านดาราศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเป็นที่ตั้งของหอดูดาวแห่งชาติและอุทยานดาราศาสตร์แห่งชาติ