กล้วยเบรกแตก ของฝากจาก ราชบุรี
กล้วยเบรกแตก ทางเรา foodpaying จะมาพูดถึงขนมที่ใคร ๆ หลาย ๆ คนชอบกิน และในปัจจุบันมีหลายหลากรสชาติตามความทันสมัย กล้วยเบรคแตก เป็นกล้วยน้ำว้า สไลด์ บาง ๆ ทอดกรอบ ความหวาน ตามธรรมชาติ ของกล้วย กรุบกรอบ เคี้ยว เท่าไร ก็หยุด ไม่อยู่ อดใจไม่ไหว สมชื่อ กล้วยเบรกแตก
กล้วยเบรกแตก ทำมาจากพืชเศรษฐกิจ
กล้วยเป็นพืชเศรษฐกิจ สำคัญอีกอย่างหนึ่งของไทย มีการส่งไปจำหน่าย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สร้างร้ายได้ให้ชาวสวนและเกษตรกรไม่น้อย ส่วนมากกล้วยที่ได้รับความนิยม คือกล้วยหอมเพราะมีผลใหญ่ กลิ่นหอมสามารถนำไปทำของหวานและขนมได้หลากหลายชนิด อีกทั้งยังขายได้ทั้งแบบหวี หรือแยกขายเป็นลูกก็ได้ราคาดี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า กล้วยจะมีราคาทุกสายพันธุ์ เพราะยังมีกล้วยไข่ กล้วยน้ำว้า กล้วยเล็บมือนาง เป็นต้น ซึ่งกล้วยเหล่านี้ก็มี การนำมาแปรรูปเพื่อเพิ่มราคาอยู่หลายรูปแบบ อย่างเช่นกล้วยน้ำว้าที่เรากำลัง จะพูดถึงกันค่ะ
กล้วยน้ำว้าเป็นกล้วยที่ไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าไหร่ เพราะมีรสชาติที่ไม่หวานเท่ากล้วยหอม ถ้ายังไม่สุกมากก็จะมีรสชาติที่เปี้ยวออกเฟือนเล็กน้อย และถ้าสุกมากก็อาจะเละจนเกินไป เลยเป็นปัญหาว่าจะทำยังให้กล้วยชนิดนี้ มีมูลค่าและราค่าที่สูงขึ้นได้เลยเป็นที่มาของการแปลรูป กล้วยฉาบที่เป็นกล้วยดิบและ จากนั้นก็มีกล้วยเบรคแตกที่ทำมาจากกล้วยสุก และต่างก็ได้รับความนิยมมาก เพราะมีรสชาติที่หวานกรอบอร่อยและมีขั้นตอนการทำที่ง่าย
กล้วยเบรกแตก ประวัติความเป็นมา
ในจังหวัดเลยมีพื้นที่ที่ปลูกกล้วยกระจายทุกพื้นที่อำเภอท่าลี่ก็เป็นอีกอำเภอหนึ่งที่มีการปลูกกล้วย ได้แก่กล้วยน้ำหว้า กล้วยหอมที่สำคัญคือกล้วยหักมุกที่มีลูกขนาดใหญ่ รับประทานสุกหรือดิบไม่อร่อย กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านปากห้วยได้นำกล้วยหักมุกมาแปรรูปเป็นกล้วยเบรกแตกเพื่อเพิ่มมูลค่าและสามารถสร้างอาชีพสร้างรายได้ให้แก่ คนในหมู่บ้านโดยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้รับการเพิ่มทักษะจากเจ้าหน้าที่ของรัฐบวกกับภูมิปัญญาของคนในชุมชน
ความสัมพันธ์กับชุมชน
ซึ่งกล้วยปลูกในชุมชน กล้วยเบรกแตกผลิตโดยกลุ่มแม่บ้านในชุมชนและจำหน่ายให้คนในชุมชนเพราะฉะนั้นภูมิปัญญานี้จึงสร้างความสัมพันธ์ของคนในชุมชน ให้มีการอาศัยใกล้ชิดและสร้างความสามัคคีในชุมชนสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของชุมชน กล้วยเบรคแตกสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน
กล้วยเบรกแตก มีกี่รสชาติ
คือนำกล้วยหินมาแปรรูปเป็นกล้วยกรอบแก้ว ที่มีอัตลักษณ์และรสชาติเป็นที่ถูกปาก ของผู้รับประทานซึ่งมีหลายรสชาติ เช่น รสหวาน รสเค็ม รสปาปริก้า รสต้มยำ รสโนริสาหร่าย เป็นรสชาติที่เพิ่มขึ้นตามยุคสมัย ซึ่งแต่ก่อนมีแค่ 2 รสชาติ คือเค็ม กับหวาน รสชาติเค็มก็ทำมาจากเกลือ ส่วนหวานทำมาจาก น้ำตาล หรือน้ำตาลปีปนั้นเอง
วิธีการทำ
วัตถุดิบหรือวัสดุที่ต้องเตรียม
1.กล้วยน้ำว้าแก่จัด
2.น้ำมันปาล์ม
3.มีด 2 คม
4.กระทะ
5.ตระแกรงสำหรับตัก
6.ถาด หรือภาชนะ พร้อมกระดาษซับมัน
ขั้นตอนและวิธีการทำ
1.นำกล้วยน้ำว้าที่แก่จัดมีสีเขียวอมเหลืองมาปอกเปลือกออกแล้วใช้มีสองคมฝานให้เป็นแผ่นบางๆ เตรียมไว้ในภาชนะ
2.เตรียมกระทะให้ร้อน โดยเทน้ำมันปาล์มลงไปให้พอท่วมแผ่นกล้วยที่ใช้ทอด
3.เมื่อน้ำมันร้อนแล้วให้เทกล้วยที่ฝานเป็นแผ่นลงไปทอด โดยใช้ไฟแรงถึงปานกลาง
4.ใช้ตระแกรงเกลี่ยแผ่นกล้วยไม่ให้ติดกัน และพลิกกลับแผ่นกล้วยให้ความร้อนสม่ำเสมอกันทุกแผ่น
5.เมื่อกล้วยสุกจะสังเกตได้จากแผ่นกล้วยจากสีเหลืองจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน จากนั้นใช้ไฟอ่อนๆทอดต่อไปจนกว่าแผ่นกล้วยทุกแผ่นมีสีน้ำตาลเสมอกัน แล้วตักไปพักไว้ในภาชนะที่มีกระดาษซับมันรองพื้น
6.เมื่อกล้วยที่นำไปทอดสะเด็ดน้ำมันแล้ว พักไว้ให้เย็นประมาณ 3 ถึง 5 นาที จะได้กล้วยทอดกรอบที่พร้อมรับประทาน
กล้วยเบรกแตก ประโยชน์ของกล้วย
เรามาพูดถึงประโยชน์ของกล้วยน้ำว้าเมื่อเทียบกับกล้วยหอมและกล้วยไข่ กล้วยน้ำว้าจะให้พลังงานมากที่สุด กล้วยน้ำว้าห่ามและสุกมีธาตุเหล็กในปริมาณสูง ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ป้องกันโรคโลหิตจาง มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินซีช่วยบำรุงกระดูก ฟัน และเหงือกให้แข็งแรง ช่วยให้ผิวพรรณดี มีเบต้าแคโรทีน ไนอาซีนและใยอาหาร
ช่วยให้ระบบขับถ่ายคล่องขึ้น กินกล้วยน้ำว้าสุก จะช่วยระบายท้องและสามารถรักษาโรคเลือดออกตามไรฟันในเด็กเล็กได้ ช่วยลดอาการเจ็บคอ เจ็บหน้าอกที่มีอาการไอแห้งร่วมด้วย โดยกินวันละ 4 ถึง 6 ลูก แบ่งกินกี่ครั้ง ก็ได้ กินกล้วยก่อนแปรงฟันทุกวันจะทำให้ไม่มีกลิ่นปาก และผิวพรรณดี เห็นผลได้ใน 1 สัปดาห์ กล้วยน้ำว้าดิบและห่ามมีสารแทนนิน เพคตินมีฤทธิ์ฝาดสมาน รักษา อาการท้องเสียที่ไม่รุนแรงได้ โดยกินครั้งละครึ่งผล หรือ 1 ผล อาการท้องเสียจะทุเลาลง นอกจากนี้จากการศึกษาวิจัยยังพบว่า มีผลในการรักษาโรคกระเพาะได้อีกด้วย
กล้วยน้ำว้า เป็นผลไม้อย่างไร
ซึ่งกล้วยน้ำว้า เป็นกล้วยพันธุ์หนึ่ง พัฒนามาจากลูกผสมระหว่างกล้วยป่ากับกล้วยตานี บริโภคกันอย่างแพร่หลาย ปลูกง่าย รสชาติดี สำหรับกล้วยน้ำว้าแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ตามสีของเนื้อ คือ น้ำว้าแดง น้ำว้าขาว และน้ำว้าเหลือง คนไทยรับประทานกล้วยน้ำว้าทั้งผลสด ต้ม ปิ้ง และนำมาประกอบอาหาร นอกจากนี้ยังมีกล้วยน้ำว้าดำ ซึ่งเปลือกมีสีครั่งปนดำ แต่เนื้อมีสีขาว รสชาติอร่อยคล้ายกล้วยน้ำว้าขาว สำหรับกล้วยตีบเหมาะที่จะรับประทานผลสด เพราะเมื่อนำไปย่าง หรือต้มจะมีรสฝาด เพราฉะนั้นกล้วยน้ำว้าจึงนิยมเอามาทำเป็นอาหารหวานเพื่อให้รับประทานได้อร่อยมากขึ้น
กล้วยน้ำว้าสามารถแปรรูปได้หลากหลาย อย่างกล้วยน้ำว้าสุกสามารถใช้ทำเป็นขนม ของหวานต่าง ๆ เช่น กล้วยเชื่อม กล้วยบวชชี มีลักษณะสีเหลืองทั้งเปลือก และเนื้อ มีรสหวาน เหนียวนุ่ม นำมารับประทานเป็นผลไม้ และทำขนมหวาน แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น กล้วยตาก หรือ ข้าวต้มมัด เป็นต้น