เมนู
หมวดหมู่

กาละแมโบราณ ล้านนาเชียงคำ หอมหวาน มัน ถูกหลักอนามัย ของฝากจังหวัดพะเยา

กาละแมโบราณ ขนมโบราณจากสูตรต้นตำรับของพะเยาชาวล้านนา ทางเรา foodpaying  ขอนำเสนอกาละแมโบราณ จากล้านนาเชียงคำ ที่มีความหอม เสน่ห์ของกาละแมสูตรโบราณคือรสสัมผัสที่หาไม่ได้ในกาละแมทั่วไป เนื้อกาละแมจะมีความเหนียวนุ่มเท่ากันทั้งชิ้น ไม่ใช่นุ่มนอกเหนียวใน ยิ่งเป็นขนมที่กวนสดใหม่แบบนี้ เนื้อสัมผัสยิ่งละมุนลิ้นมากขึ้น สีของกาละแมเป็นสีจากธรรมชาติอีกด้วย

กาละแมโบราณ

กาละแมโบราณ สูตรความอร่อยที่ไม่เหมือนใคร

เป็นผลิตภัณฑ์โอทอปขึ้นชื่อลือชาของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านดอนไชย โดยแม่บ้านได้รวมกลุ่มกันทำกะละแมโบราณขึ้นมา เป็นผลิตภัณฑ์ประเภทแปรรูปอาหารจากวัสดุธรรมชาติที่มีในท้องถิ่น เช่น แป้งข้าวเหนียว กะทิจากมะพร้าว น้ำตาลจากน้ำอ้อย

สำหรับประวัติความเป็นมา กะละแมโบราณ เป็นสูตรที่พัฒนามาจากขนมปาดของชาวไทลื้อ ในอำเภอ เชียงคำ จังหวัดพะเยา ซึ่งใช้วิธีการกวนเหมือนกัน ต่างกันที่ขนมปาดใช้แป้งข้าวจ้าว มีสีแดงได้จากน้ำอ้อย ส่วนกะละแมใช้แป้งข้าวเหนียว มีสีดำจากกากมะพร้าวเผา การทำกะละแมโบราณเน้นความหอมจากใบตอง และกรรมวิธีโบราณ

กาละแมโบราณ

ที่มาของขนมโบราณหอมอร่อย

กาละแม คือขนมไทยโบราณที่มีลักษณะทำมาจากแป้งเหนียวสีดำ เป็นขนมหนึ่งในสามชนิดที่นิยมทำขึ้นในวันปีใหม่ของคนไทยในสมัยก่อน นิยมทำกันในช่วงงานเทศกาลสงกรานต์หรือวันขึ้นปีใหม่ของไทย ซึ่งจะต้องทำให้เสร็จก่อนวันสงกรานต์คือ ข้าวเหนียวแก้ว ข้าวเหนียวแดง และกาละแม เพราะการทำขนมเหล่านี้ต้องอาศัยแรงงานคนมาช่วยกันกวนขนม จึงถือเป็นการเริ่มต้นปีใหม่ด้วยความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของคนไทย ช่วยเหลือซึ่งกันและกันด้วยมิตรไมตรีเป็นความดีงามในชีวิตภายภาคหน้าสืบต่อไป

และเมื่อทำขนมเสร็จแล้วก็จะมีการแบ่งปันขนมกลับไปกินที่บ้านของแต่ละคน ขนมกะละแมเชื่อว่ามีต้นกำเนิดที่มาจากขนมกาลาเม็กของฝรั่งเศส หรือคาราเมลของอังกฤษ หรือเกละไมของชาวมลายู ท่านพุทธทาสภิกขุตั้งข้อเสนอว่าน่าจะมาจากขนมฮูละวะของอินเดียที่มีส่วนผสมเป็นนม แป้ง และน้ำตาล

ปัจจุบันกาละแมมีหลากหลายสีและมีรสชาติที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับสูตรของแต่ละผู้ผลิต ผู้ผลิตบางรายสรรหาความแปลกใหม่ให้ขนมกาละแมดูเปลี่ยนไปจากเดิมคือมีสีสันที่น่ารับประทานมากขึ้นและเป็นที่ถูกใจของ ผู้บริโภคทุกเพศทุกวัยแต่ก็ยังมีกาละแมสดหลายที่ ที่ผู้ผลิตยังคงอนุรักษ์ความเป็นไทยเอาไว้ตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษจนถึงรุ่นปัจจุบัน

กาละแมโบราณ

ตำนานขนมหวานจากชาวมอญ

กาละแมรามัญเป็นขนมหวานชนิดหนึ่งของชาวมอญ เหตุที่ชื่อว่ากาละแมรามัญหลายท่านคงสงสัยว่าทำไมต้องรามัญ เพราะรามัญก็แปลว่ามอญนั่นเองค่ะ กาละแมรามัญไม่พบปีพ.ศ.ที่ทำขึ้น เพราะเป็นขนมที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน แต่เดิมนั้นกาละแมรามัญจะกวนขึ้นในงานแต่งของคู่บ่าวสาวชาวมอญ เป็นเหมือนสินสอดทองหมั้น

ต่อมานั้นการกวนกาละแมรามัญก็เริ่มมากวนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพราะจะมีการทำบุญอุทิศแก่บรรพชนในช่วงสงกรานต์ก็จะมีการกวนกาละแมขึ้นเพื่อเป็นขนมถวายพระสงฆ์และแจกญาติสนิทมิตรสหาย จะกวนในช่วงก่อนเทศกาลสงกรานต์คือประมาณวันที่ 1 ถึง 9 เมษายน ของทุกปี ญาติพี่น้องก็จะมารวมตัวช่วยกันกวนกาละแม การกวนกาละแมรามัญนั้นต้องใช้คนจำนวนมาก ประมาณ 9 ถึง 10 คน และกวนกระทะนึงต้องใช้เวลา 6 ถึง 7 ชั่วโมง จึงต้องมีการร่วมใจสามัคคี ลงแขกช่วยกันกวนแต่ละบ้านๆหมุนเวียนช่วยกันไป

ในต่อมาประเพณีการกวนกาละแมในช่วงสงกรานต์เริ่มหายไป ท่านหลวงพ่อเจ้าอาวาสวัดศรัทธาธรรมวัดมอญ จึงได้คิดริเริ่มตั้งกลุ่มแม่บ้านรามัญพัฒนาเพื่อคงอนุรักษ์ขนมกาละแมรามัญและเพื่อสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านในชุมชนวัดมอญ ขนมกาละแมรามัญจึงได้สืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้ และเป็นขนมที่ขึ้นชื่อในจังหวัดสมทรสงครามและเป็นของขวัญของฝากของวัดศรัทธาธรรมอีกด้วย

กาละแมโบราณ ล้านนาเชียงคำ ดีอย่างไร

ถ้าท่านถามว่าแล้วทำไมต้องขนมของล้านนาเชีรยงคำด้วยล่ะ ก็เพราะว่า เป็นเสน่ห์ของกาละแมสูตรโบราณคือรสสัมผัสที่หาไม่ได้ในกาละแมทั่วไป เนื้อกาละแมจะมีความเหนียวนุ่มเท่ากันทั้งชิ้น ไม่ใช่นุ่มนอกเหนียวใน ยิ่งเป็นขนมที่กวนสดใหม่แบบนี้ เนื้อสัมผัสยิ่งละมุนลิ้นมากขึ้น สีของกาละแมเป็นสีจากธรรมชาติ ได้จากกาบมะพร้าวเผาแล้วคั้นเอาน้ำมาใช้ ไม่มีการแต่งสีสังเคราะห์เพิ่ม แต่ใช้เคล็ดลับเฉพาะของทางแบรนด์มาช่วยให้สีดำสนิทมากขึ้น ทั้งยังทำให้ผิวนอกของขนมดูมันวาวขึ้นด้วย

ในส่วนของรสชาติจะมีความหวานมันกำลังดี ไม่หวานจัดจนรู้สึกเลี่ยน แต่สัมผัสได้ถึงรสชาติของน้ำกะทิเข้มข้น ผสมกับความหอมของน้ำตาลอ้อย วิธีเก็บรักษาก็ไม่ยุ่งยากอะไร เพียงแค่วางไว้ให้ห่างจากบริเวณที่มีความร้อน และไม่ค่อยแนะนำให้เก็บเข้าตู้เย็น เพราะจะทำให้เนื้อของกาละแมเสียความนุ่มหนึบไปค่ะ

จากส่วนประกอบที่สำคัญของกะละแมโบราณ มีแป้งข้าวเหนียว กะทิ น้ำตาล สีจากกากมะพร้าวเผา เกลือ น้ำเปล่า และผ่านกระบวนการการผลิตที่เน้นความดั้งเดิมแบบโบราณ ซึ่งจะเผากากมะพร้าวให้เป็นสีดำเผื่อนำมาผสมในเนื้อกะละแม แล้วห่อด้วยใบตองที่ผ่านการรีดให้หอม ไม่ใช้วัตถุกันเสีย ไม่ใส่สี ไม่แต่งกลิ่นสังเคราะห์ เป็นกะละแมที่กินแล้วอร่อย หอม หวานเหนียวนุ่มลิ้นถูกปากดี

ความเป็นมาของ ล้านนาเชียงคำ

ซึ่งกะละแมโบราณเป็นสูตรของไทลื้อ ในเขตพื้นที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา จุดเริ่มของกะละแมโบราณ มาจากการทำขนมปาดซึ่งเป็นขนมพื้นบ้านของชาวไทลื้อมาแต่โบราณ นิยมทำในประเพณีงานบุญ ลักษณะขนมปาดคล้ายกับขนมชั้นแต่จะมีความนิ่มมากกว่า เกษตรกรกลุ่มแม่บ้านดอนไชย หมู่ที่ 5 ตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา

เริ่มจากการรวมตัวของสมาชิกแม่บ้านจำนวน 43 คน กลุ่มได้ทำขนมปาดและจำหน่ายในงานประเพณีสืบสานตำนานไทลื้อ โดยมีผลตอบรับที่ดีจากผู้บริโภค และซื้อกลับบ้านเป็นของฝาก แต่ขนมปาดมีข้อเสียคือ ไม่สามารถเก็บได้นานเกิน 3 วัน หลังจากนั้นกลุ่มจึงได้ปรึกษาหารือภายในกลุ่มคิดเพื่อพัฒนาขนมที่มีลักษณะการกวนคล้ายกับขนมปาด

ในสมาชิกกลุ่มมีความเห็นร่วมกันทำกะละแมแบบโบราณ โดยรูปแบบการทำคล้ายกับขนมปาด โดยการเปลี่ยนจากแป้งข้าวจ้าวเป็นแป้งข้าวเหนียว จากขนมปาดที่ใช้น้ำอ้อยเพื่อให้ขนมมีสีแดง เปลี่ยนเป็นกาบมะพร้าวเผาให้มีสีดำ โดยยึดหลักการทำแบบวิธีโบราณ

ทั้งนี้ ทางกลุ่มได้เล็งเห็นความสำคัญของรัฐบาลที่มีนโยบายมุ่งเน้นให้ประชาชนชาวไทย ปฏิบัติตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมีการพึ่งพาช่วยเหลือกันในกลุ่ม และได้ช่วยกันพัฒนากะละแมโบราณหลายครั้งจนสามารถเป็นสูตรกะละแม เป็นที่ยอมรับและรู้จักของพี่น้องชาวจังหวัดพะเยา

และจังหวัดใกล้เคียง ว่ากะละแมโบราณของฝากจากเชียงคำ หอม หวาน มัน อร่อย ถูกหลักอนามัย ไม่เจือสี ไม่ใส่สารกันบูด จนสามารถผลิตออกจำหน่ายจนถึงปัจจุบัน ใครที่ชื่นอชบขนมหวานโบราณของไทยเราไม่ควรพลาดเด็ดขาด